สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-31 มกราคม 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ11,961บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,890บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15%สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ9,222บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,242บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,950 บาท ลดลงจากตันละ 30,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,110 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,830 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,750 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 25 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,347 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 543 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,154 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 193 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,258 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 540ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,065 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 193 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.7221 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ไทย: ตั้งเป้าส่งออกข้าว ปี2564ปริมาณ 6 ล้านตัน เดินหน้าตลาดเชิงรุก หลังอยู่อันดับ 3 ของโลก
          กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้า ไทยส่งออกข้าวปี 2564 ปริมาณ 6 ล้านตัน และเตรียมพัฒนาพันธุ์ข้าว ปรับปรุงกฎระเบียบ พร้อมเจรจาออนไลน์สร้างความสัมพันธ์กับประเทศคู่ค้า ประชาสัมพันธ์ข้าวไทยผ่านทูตพาณิชย์ทั่วโลกเพื่อดันการส่งออก
          นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดการประชุมผ่านระบบ Zoom ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับเป้าการส่งออกข้าวไทยในปี 2564 โดยเห็นชอบร่วมกันในการกำหนดเป้า
การส่งออกข้าวไทยที่ปริมาณ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทายเพราะยังมีผลกระทบต่อการส่งออกข้าว ทั้งเงินบาทแข็งค่าทำให้ข้าวไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่งสำคัญ เช่น อินเดียและเวียดนาม ประกอบกับปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการ และผู้นำเข้าหลายประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กำลังซื้อลดลง
          ทั้งนี้ เพื่อให้การส่งออกข้าวเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กรมฯ จะเดินหน้ากิจกรรมเพื่อสนับสนุนการขยายตลาดข้าวไทย โดยจะเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวไทยปี 2563-2567 ที่จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตรงตามที่ตลาดต้องการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เร่งปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการส่งออกข้าว และเร่งประชาสัมพันธ์ข้าวไทยให้เป็นที่รู้จักและต้องการเพิ่มมากขึ้นโดยในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย จะปรับรูปแบบจากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์มากขึ้น เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิมและหากลุ่มลูกค้าใหม่ โดยมีกิจกรรมที่จะดำเนินการ เช่น การหารือกระชับความสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นกับประเทศคู่ค้าสำคัญผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อิรัก บังกลาเทศ เป็นต้น และหารือกับประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดข้าว
          นอกจากนี้ จะจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ข้าวไทยเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยร่วมมือกับผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่เป็นตลาดเป้าหมายในการส่งออกข้าวของไทย และจัดกิจกรรมต่อยอดข้าวหอมมะลิไทยที่ได้เเชมป์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกปี 2563 (World’s Best Rice 2020) เพื่อแนะนำข้าวหอมมะลิไทยดีอย่างไรผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย เป็นต้น
          สำหรับการส่งออกข้าวไทยในปี 2563 มีปริมาณรวม 5.72 ล้านตัน ลดลงร้อยละ24.54 มูลค่า 3,727 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ11.41 คิดเป็นเงิน 115,915 ล้านบาท ลดลงร้อยละ11.23 โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ แอฟริกาใต้ อันดับ 1 ส่งออกปริมาณ 672,777 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ11.75 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด สหรัฐฯ อันดับ 2 ปริมาณ 672,183 ตัน สัดส่วนร้อยละ11.74 เบนินอันดับ 3 ปริมาณ 476,290 ตัน สัดส่วนร้อยละ8.32 จีน อันดับ 4 ปริมาณ 381,363 สัดส่วนร้อยละ6.66 และอังโกลา อันดับ 5 ปริมาณ 347,292 สัดส่วนร้อยละ6.07
          โดยสาเหตุที่ทำให้การส่งออกในปี 2563 ลดลง มาจากค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ประกอบกับจีนซึ่งเดิมเป็นประเทศผู้นำเข้าได้กลายมาเป็นผู้ส่งออกและแย่งตลาดในแอฟริกาที่เป็นตลาดหลักของไทยรวมทั้งข้าวไทยไม่มีพันธุ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเท่าที่ควร โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นนุ่ม และช่วงปลายปี
มีปัญหาด้านการขนส่งขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
          ส่วนอันดับการส่งออกข้าวของโลกในปี 2563 อินเดีย อันดับ 1 ส่งออกปริมาณ 14 ล้านตัน เวียดนาม อันดับ 2 ปริมาณ 6.3 ล้านตัน ไทย อันดับ 3 ปริมาณ 5.72 ล้านตัน ปากีสถาน อันดับ 4 ปริมาณ 4 ล้านตัน และสหรัฐฯ อันดับ 5 ปริมาณ 3.05 ล้านตัน
          ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
          เวียดนาม: ข้าวหอมมะลิเวียดนาม บุกตลาดอังกฤษ
          Vietnam News Agency สำนักข่าวของทางการเวียดนาม รายงานว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามจัดส่งข้าวหอมมะลิเวียดนาม ปริมาณ 60 ตัน วางขายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศอังกฤษ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม 2564
          ข้าวหอมมะลิเวียดนามคุณภาพดีที่สุด (top-quality) ล็อตนี้เป็นล็อตแรกภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอังกฤษ-เวียดนาม (UKVFTA) ส่งออกโดย Vinaseedวิสาหกิจของรัฐบาลเวียดนาม และนำเข้าโดยบริษัทอังกฤษชื่อ Longdan
          VNA รายงานว่า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอังกฤษ-เวียดนาม ทำให้ข้าวเวียดนามมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดข้าวประเทศอังกฤษ เนื่องจากภายใต้ UKVFTA ข้าวสารที่ส่งออกจากประเทศเวียดนามไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าที่ประเทศอังกฤษ จึงได้เปรียบผู้ส่งออกข้าวจากประเทศอื่น โดยเฉพาะไทย
          ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอังกฤษ-เวียดนาม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2563
          ทางด้านทูตพาณิชย์เวียดนามประจำประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การส่งออกข้าวเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป
ในปี 2564 มีแนวโน้มสูงกว่าปี 2563 โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามจะได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0ส่งผลให้การส่งข้าวไปยังอังกฤษในปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน และมีโอกาสที่ส่วนแบ่งทางการตลาดจะสูงขึ้นด้วย
          อังกฤษเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่ของโลก มีมูลค่านำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก โดยปัจจุบันข้าวสารจากอินเดียมีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ22 ปากีสถานร้อยละ18  สเปนร้อยละ11 อิตาลีร้อยละ10.9 ไทยร้อยละ9.2  ส่วนเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดขณะนี้เพียงร้อยละ0.24
          ที่มา:Thai PBS
    
          เกาหลีใต้
          กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs) รายงานว่า รัฐบาลได้ประกาศอัตราภาษีนำเข้าข้าว (tariff on imported rice) ในส่วนที่เกินจากโควตานำเข้าซึ่งกำหนดปริมาณนำเข้าต่อปีไว้ที่ 408,700 ตัน โดยกำหนดภาษีในอัตราร้อยละ513 ขณะที่การนำเข้าในโควตาจะมีอัตราภาษีที่ร้อยละ5 ซึ่งทำให้กระบวนการปรับเปลี่ยนระบบการนำเข้าข้าวตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลกเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากที่เมื่อ
ปี2557เกาหลีใต้ได้แจ้งต่อองค์การการค้าโลกว่าจะใช้ระบบการนำเข้าและอัตราภาษีดังกล่าวภายในปี 2562
          ทั้งนี้เมื่อปี 2557รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ประกาศว่าจะเปลี่ยนมาใช้การนำเข้าข้าวแบบ TRQ โดยที่ TRQ ถูกตั้งไว้ตามปริมาณ MMA ของปีสุดท้าย ซึ่งสูงถึง 408,700 ตัน โดยในปี 2557การนำเข้าภายในTRQ มีอัตราภาษีร้อยละ 5 และอัตราภาษีนำเข้านอก TRQ ถูกประกาศไว้ที่ร้อยละ513 แต่คู่ค้าของเกาหลีใต้ได้แก่ ออสเตรเลียจีนไทยสหรัฐฯ และเวียดนาม ได้ร้องเรียนต่อ WTO แสดงความกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขข้อกำหนดทางภาษีและขัดขวางไม่ให้การรับรองของเกาหลีใต้มีผลบังคับใช้ซึ่งหลังจากนั้นเกาหลีใต้ได้ดำเนินการเจรจาต่อรองกับทั้ง 5 ประเทศในประเด็นดังกล่าว และต่อมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 WTO ได้อนุมัติภาษีนำเข้าข้าวของเกาหลีใต้ในอัตราร้อยละ513 หลังจากที่
5 ประเทศได้แก่สหรัฐฯจีนเวียดนามไทย และออสเตรเลีย ได้มีการยืนยันเรื่องภาษีข้าวเสร็จสิ้นและถอนคัดค้านทุกกรณีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563
          ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการจัดสรรโควตาการนำเข้ารายประเทศ (country-specific quotas) ให้เฉพาะ 5 ประเทศ โดยมีการจัดสรรให้จีนได้รับโควตา 157,195 ตันสหรัฐฯ 132,304 ตันเวียดนาม 55,112 ตันไทย 28,494 ตัน ออสเตรเลีย 15,595 ตัน และที่เหลือได้จัดสรรเป็นโควตาทั่วไป (Global quota) จำนวน 20,000 ตันสำหรับทุกประเทศ
          ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.33  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.09 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 310.06 ดอลลาร์สหรัฐ (9,232 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 314.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,359 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 127 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 531.80 เซนต์ (6,315.89 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 518.15 เซนต์(6,157.06 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 158.83 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.35 ล้านตัน (ร้อยละ 17.89 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.47 ล้านตัน (ร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง แม้ว่าหัวมันสำปะหลังจะมีคุณภาพดี เชื้อแป้งสูง สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.49
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.92 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.20
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.60 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.30
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 253 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,520 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,437 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.20
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน


 


ปาล์มน้ำมัน
 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          สมาคมอ้อยและน้ำตาลเวียดนาม (VSSA) รายงานว่า ณ กลางเดือนมกราคม เวียดนามผลิตน้ำตาล
ได้ 68,000 ตัน และในเดือนมกราคมราคาน้ำตาลในประเทศสูงขึ้นเนื่องจากการนำเข้าน้ำตาลลดลง พร้อมอธิบายว่าราคาตลาดโลกที่สูงขึ้นและการควบคุมชายแดนที่เข้มงวดอันเป็นผลมาจากมาตรการโคโรนาไวรัสทำให้
ลดการนำเข้า VSSA หวังว่ารัฐบาลเวียดนามจะประกาศมาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดกับน้ำตาลไทยในเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ยังเสริมว่าประเทศยังคงมีน้ำตาลจากการนำเข้าจำนวนมากจากไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว
           Unica คาดว่าปี 2564/2565 จะเป็นอีกปีที่ดีต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของบราซิล โดยคาดว่าราคาน้ำตาลตลาดโลกและราคาเอทานอลที่เพิ่มขึ้นจะชดเชยกับปริมาณอ้อยต่อแฮเตอร์และค่า ART ที่ลดลง ทั้งนี้ Unica
คาดว่าค่า ART จะลดลงเหลือ 138 กก./ตัน จาก 145 กก./ตัน ในปี 2563/2564 และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า
ปี 2563/2564 ที่ผ่านมาเป็นปีที่ดีมากสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลของบราซิล


 

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.00 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,362.28 เซนต์ (15.10 บาท/กก.) สูงขึ้น
จากบุชเชลละ 1,359.20 เซนต์ (15.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 438.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.37
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.13 เซนต์ (29.34 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 42.49 เซนต์ (28.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.86

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.29 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,179.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,178.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,043.40 ดอลลาร์สหรัฐ (31.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,043.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,280.60 ดอลลาร์สหรัฐ (38.06 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,280.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.08 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 670.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 670.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06 แต่ทรงตัวในในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,138.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.84 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,137.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.84 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ทรงตัวในในรูปเงินบาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.78
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 81.09 เซนต์(กิโลกรัมละ 53.93 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 81.72 เซนต์ (กิโลกรัม 54.38 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.45 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,750 บาท ลดลงจาก 1, 855 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,855 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,452 บาท ลดลงจาก 1,531 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,531 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  75.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.22 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 78.85 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่าน แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.78 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 279 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 270 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.70 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 360 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 380 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.26 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.98 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.36 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.52 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.17 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.46 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.27 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 129.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.91 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 137.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.85 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.06 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา